1. คนต่างด้าวแจ้งด้วยตนเอง
2. คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้ง
3. คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
หมายเหตุ **คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วันหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับ
**กรณีที่เกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยฯ คนต่างด้าวที่มารายงานตัว จะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท
**กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย
เอกสารประกอบคำร้อง กรณียื่นด้วยตนเอง
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. บัตร ตม.6 ขาออก (TM.6) ดูตัวอย่างบัตร ตม.6
3. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน 90 วันมาแล้ว) ดูตัวอย่างใบรับแจ้ง
4. กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย ดูตัวอย่าง
สถานที่รับแจ้ง
1. กรณีคนต่างด้าวพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร แจ้งด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้งแทนที่ งานรับแจ้งที่พักอาศัย ชั้น 2 ศูนย์บริการชั่วคราวเมืองทองธานี อาคาร 6 ชั้น ถนนป๊อปปูล่า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี (คลิกดูสถานที่ตั้ง)
หมายเหตุ ที่อยู่สำหรับจัดส่ง กรณีแจ้งทางไปรษณีย์ กรณาส่งไปที่
งานรับแจ้งที่พักอาศัย (รายงานตัว 90 วัน) กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารบี เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หรือ
90 Days Report Section
Immigration Division 1 , Immigration Bureau,
Chalermprakiat Government Complex B Building
120 Moo 3 , Chaengwattana Rd., Soi 7, Toongsonghong, Laksi, Bangkok. 10210
(คลิกดูสถานที่ตั้ง)
2. ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 อาคารจัตุรัสจามจุรีสแควร์ ชั้น 18 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สำหรับคนต่างด้าวที่ทำงานในนิติบคุคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท (คลิกดูสถานที่ตั้ง)
3. ศูนย์บริการแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาวและกัมพูชา ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (คลิกดูสถานที่ตั้ง)
4. สำหรับต่างจังหวัด แจ้งที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่ง ตามเขตพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย
การปฏิบัติเมื่อแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
1. สำเนาหนังสือเดินทางหน้ารูปถ่าย , วันเดินทางเข้าประเทศครั้งสุดท้าย และการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยครั้งล่าสุด
2. สำเนาบัตร ตม.6 ขาออก หน้า-หลัง (TM.6) ดูตัวอย่างบัตร ตม.6
3. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว) ดูตัวอย่างใบรับแจ้ง
4. กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย ดูตัวอย่าง
5. ซองจดหมายพร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงคนต่างด้าว เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้จัดส่งใบนัดส่วนล่างของแบบ ตม.47 เมื่อรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน แล้ว พร้อมแบบ ตม.47 เพื่อใช้แจ้งอยู่เกิน 90 วันในครั้งต่อไป
6. นำเอกสารตามข้อ 1-5 ใส่ซองและจัดส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน ก่อนวันครบกำหนดการแจ้ง(ตามใบนัด) 15 วัน ทั้งนี้คนต่างด้าวจะต้องเก็บหลักฐานการลงทะเบียนไว้ โดยจ่าหน้าซองมาที่ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามเขตพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย
หมายเหตุ
การรับแจ้งที่พักอาศัย กรณีคนต่างด้วอยู่เกิน 90 วัน มิใช่ เป็นการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
คนต่างด้าวผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับ จำนวน 2000 บาท หรือคนต่างด้าวถูกจับกุมตัวมาไม่ว่ากรณีใดๆ ต้องเสียค่าปรับ จำนวน 4,000 บาท
เมื่อคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อเดินทางกลับมาให้เริ่มนับเวลา 90 วันใหม่ทุกกรณี